รู้ก่อนสร้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร? ถ้าคุณถูกผู้รับเหมาทิ้งงาน

รู้ก่อนสร้าง "ต้องเตรียมตัวอย่างไรถ้าคุณถูกผู้รับเหมาทิ้งงาน"

จากผลสำรวจพบว่าสูงถึง 80% ของวงการก่อสร้าง " ถูกผู้รับเหมาทิ้งงาน " การถูกผู้รับเหมาทิ้งงานในวงการก่อสร้างไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นปัญหาที่หลายคนอาจไม่รู้ คือวิธีรับมือหากเจอกับสถานการณ์นี้ สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความไม่เข้าใจหรือความคาดหวังที่ไม่ตรงกันระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้รับเหมา และในบางครั้ง ก็มาจากพฤติกรรมไม่เหมาะสมของเจ้าของบ้านเอง ถ้าอยากรู้ว่ามีพฤติกรรมแบบไหนบ้างที่ส่งผลให้มีปัญหาจนผู้รับเหมาทิ้งงาน คลิกอ่านเพิ่มเติมได้เลยครับ

ในบทความนี้ ตั้งใจทำเพื่อให้เจ้าของบ้านทุกคนได้อ่านก่อนที่เริ่มก่อสร้าง เพื่อที่จะได้มีข้อมูลไว้รับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นนี้


ต้องเตรียมตัวอย่างไรถ้าคุณถูกผู้รับเหมาทิ้งงาน แนะนำทำตามขั้นตอน ดังนี้ครับ


1.รวบรวมหลักฐานต่างๆ

สัญญา แบบ BOQ และเก็บภาพถ่ายให้มากที่สุด (ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง การส่งมอบงานย่อยๆแต่ละครั้ง และถึงวันที่พบว่าเสียหาย


2.ออกหนังสือแจ้งเตือนผู้รับเหมา

มีหนังสือเตือนให้ผู้รับเหมามาทำงานหรือแก้ไขงาน ตามสัญญา ภายใน 7 วัน หรือ 10 วัน (ส่งจดหมายแบบ ไปรษณีย์EMS+ใบตอบรับ)


3.ว่าจ้างวิศวกรมาตรวจสอบและออกหนังสือรายงาน

ถ้าผู้รับเหมาไม่มาตามเวลาที่กำหนดข้อ2. ให้เจ้าของบ้าน ว่าจ้างวิศวกรมาตรวจสอบและออกหนังสือรายงาน %ความสำเร็จของงาน เทียบกับเงินที่เบิกไป และงานที่เหลือ % มูลค่าเท่าไหร่ มีเสียหายที่ต้องรื้อต้องแก้ไขเท่าไหร่ ประเมินค่าใช้จ่ายและค่าเสียหาย


4.ส่งหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาผู้รับเหมา

เรียกค่าเสียหาย จากผลการตรวจสอบตามข้อ 3. (ส่งจดหมายแบบ ไปรษณีย์EMS+ใบตอบรับ) เนื้อหาเอกสารประมาณว่าผู้รับเหมาเป็นฝ่ายผิด ทำให้เจ้าของบ้านเสียหาย และหากต้องจัดหาผู้รับเหมารายใหม่เข้ามาแก้งานหรือทำต่อจนเสร็จแล้วมีส่วนต่าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ ระบุให้ชำระค่าเสียหาย หากไม่ชำระจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

*ขั้นตอนนี้สำคัญเพราะจะเป็นตัวตัดชัดเจนว่าผู้รับเหมาเป็นฝ่ายผิดสัญญาและอาจเกิดการเจรจาชดใช้ค่าเสียหายกันก่อนได้ด้วย


5.ทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมารายใหม่

โดยอ้างอิงเนื้องานที่เหลือจากรายงานผลการตรวจของวิศวกร ตามข้อ 3. โดยปกติการที่ผู้รับเหมาว่ารับงานต่อ รับงานแก้ มักจะมีราคาที่สูงกว่าปกติ ส่วนที่สูงขึ้นกว่าปกตินี่หละ ที่เราจะไปเรียกเอากับผู้รับเหมารายเดิมได้ด้วย แต่ต้องเก็บหลักฐานต่างๆให้ครบถ้วน ให้ละเอียดมากที่สุด


6.สรุปค่าใช้จ่ายและค่าเสียหาย

เมื่อบ้านเสร็จแล้ว สรุปค่าใช้จ่ายตามจริง และค่าเสียหาย เทียบสัญญาฉบับแรกกับผู้รับเหมาที่ทิ้งงาน กับ สัญญาใหม่ที่ผู้รับเหมาเข้ามาทำงานต่อ ถ้าตัวเลขออกมาว่าเราต้องเสียเงินมากขึ้นในการสร้างบ้านให้เสร็จ ก็เอาส่วนต่างนี้หละไปฟ้องผู้รับเหมาเดิม


7.ก่อนฟ้อง ขอให้ส่งหนังสือ (notice) แจ้งค่าเสียหาย

แต่ก่อนฟ้องคดี ขอให้ส่งหนังสือ (notice) แจ้งค่าเสียหายตามข้อ 6. ไปยังผู้รับเหมาเดิม โดยกำหนดวันให้ชำระภายใน 7 หรือ 15 วัน หากไม่ชำระจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป


8.สืบทรัพย์สินของผู้รับเหมารายเดิม

เมื่อส่งหนังสือตามข้อ 7. แล้ว จะแนะนำให้สืบทรัพย์สินของผู้รับเหมา สืบที่ดิน หรือรถยนต์ สืบบุคคลและครอบครัว


9.พิจารณาถึงความคุ้มค่าว่าจะฟ้องดีไหม?

เมื่อได้ข้อมูลตามข้อ8 .แล้ว จึงตัดสินใจอีกทีว่าจะฟ้องหรือไม่ ถ้ายอดหนี้ไม่มาก ฟ้องไปไม่คุ้ม อาจไม่คุ้มค่าทนาย ค่าเสียเวลาอีก เสียสุขภาพจิตอีก


10.ประโยชน์ของการทำตามข้อ 4. และ ข้อ 7.

ประโยชน์ของการทำตามข้อ 4. และ ข้อ 7. คือ ถ้าผู้รับเหมา ขายหรือโอนทรัพย์สินหนีหนี้ จะโดนคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้ได้ครับ


11.ประโยชน์ของการทำตามข้อ8.

ข้อดีของการทำข้อ8. คือ ถ้าผรม.ไม่มีทรัพย์สินให้ยึดได้ จขบ.อาจจะตัดสินใจปล่อยวาง ไม่ต้องฟ้องร้อง ให้เสียเงินและเสียเวลา (และค่าสืบทรัพย์ราคาไม่แรงเท่ากับค่าฟ้องคดีครับ)

สุดท้าย บางข้ออาจจะไม่ต้องทำก็ได้ แต่ถ้าได้ทั้งหมดเป็นผลดีกับ เจ้าของบ้านมาก มีโอกาสชนะได้ แต่เหนื่อยมากครับ และต้องเตรียมพร้อมก่อนฟ้องให้ดีตั้งแต่ที่ผู้รับเหมาเริ่มทิ้งงานนะครับ
ถ้ามีกรณีที่ผู้รับเหมาไปทำแบบนี้กับเจ้าของบ้านหลายราย กล่าวคือ มีผู้เสียหายหลายคนในลักษณะที่คล้ายกัน อาจจะเข้าข่ายกระทำผิดคดีอาญาฉ้อโกงได้นะครับ แต่ที่สำคัญคือต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3เดือน มีเช่นนั้นจะขาดอายุความ

#สุดท้ายห้ามโพสต์ประจานผู้รับเหมาที่ทิ้งงานเด็ดขาด #เสี่ยงจะโดนคดีอาญาซะเอง

หากคุณกำลังมองหาผู้รับเหมาก่อสร้าง เข้ามาหาได้ที่ beaverman

หรือปรึกษา ???? m.me/100914958375616


ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆจากเพจ เพจ all about บ้าน และ เพจ เล่าเข้าเรื่อง by ทนายพิชัย